วันอังคารที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2558

สรุปการเรียนครั้งที่ 2

- การทำงานต้องมี 3 ส. คือ สือค้น สร้างสรรค์ และ สรุป
- ชื่อแบรนด์สินค้า ถ้าเป็นภาษาไทย ถ้าจะใช้เป็นภาษาอังกฤษควรใช้คำสะกดที่ตรงตัว เหมือนภาษาคาราโอเกะ เช่น ชื่อไทยเป็น "มวยไทย" ภาษาอังกฤษใช้เป็น "Muay Thai" ไม่ใช่ "Thai boxing"
- อัตลักษณ์ คือ กราฟฟิคทุกอย่างที่ที่เกี่ยวข้องกับ

  • สัญลักษณ์ (Symblos) 
  • เครื่องหมาย (SignSystem)
  • หนังสือ (Books)
  • นิตยสาร (Magazines)
  • หนังสือพิมพ์ (Newspapers)
  • โฆษณา (Ads)
  • นิทรรศการ (Exhibits)
  • แคทตาล็อก (Catalogues)
  • บรรจุภัณฑ์ (Packages)
  • แผ่นพับ (Borchures)
  • โปสเตอร์ (Bosters)
  • แผนที่ (Maps)
  • ป้ายโฆษณา (Billboards)
  • การประชาสัมพันธ์ (Promotions)
  • หัวจดหมาย (Letter Heads)
- CBPR ย่อมาจาก Community based participatory research แปลว่า ชุมชนมีส่วนร่วมการวิจัย

วิสาหกิจชุมชน?

วิสาหกิจชุมชน

     ได้ให้คำนิยามคำว่า วิสาหกิจชุมชน (Small and Micro community Enterprise--SMCE) หมายถึง 
“การประกอบการขนาดเล็กและขนาดจิ๋ว เพื่อจัดการทุนของชุมชนอย่างสร้างสรรค์ เพื่อการพึ่งพาตนเองและความเพียงพอของครอบครัวและชุมชน ทุน ในที่นี้ไม่ได้หมายถึงแต่เพียงเงิน แต่รวมถึงทรัพยากร ผลผลิต ความรู้ ภูมิปัญญา ทุนทางวัฒนธรรม และทุนทางสังคม (กฎเกณฑ์ทางสังคมที่ร้อยรัดผู้คนให้อยู่ร่วมกันเป็นชุมชน เป็นพี่น้องไว้ใจกัน) ให้เกิดประสิทธิภาพและยั่งยืน ยังประโยชน์ให้ชุมชนผู้เป็นเจ้าของวิสาหกิจนั้นเป็นหลัก”
  วิสาหกิจชุมชน หมายถึง การประกอบการ ซึ่งรวมถึงกระบวนการคิด การจัดการผลผลิต และทรัพยากรทุกขั้นตอนโดยมีภูมิปัญญาขององค์กรชุมชนหรือเครือข่ายขององค์กรชุมชน เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจสังคมและการเรียนรู้ของชุมชน ซึ่งมิได้มีเป้าหมายเพียงเพื่อการสร้างกำไรทางการเงินเพียงอย่างเดียว แต่รวมถึงกำไรทางสังคม ได้แก่  ความเข้มแข็งของชุมชนและความสงบสุขของสังคมด้วย
     วิสาหกิจชุมชน คือ การประกอบการโดยชุมชนที่มีสมาชิกในชุมชนเป็นเจ้าของปัจจัยการผลิตทั้งด้านการผลิต การค้า และการเงิน และต้องการใช้ปัจจัยการผลิตนี้ให้เกิดดอกผลทั้งทางเศรษฐกิจและสังคม ด้านเศรษฐกิจ คือ การสร้างรายได้และอาชีพ ด้านสังคม คือ การยึดโยงร้อยรัดความเป็นครอบครัวและชุมชนให้ร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมรับผิดชอบ แบ่งทุกข์แบ่งสุขซึ่งกันและกัน โดยผ่านการประกอบกระบวนการของชุมชน
     สำหรับความหมายของวิสาหกิจชุมชนตามพระราชบัญญัติส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน พ.ศ. 2548 นั้น วิสาหกิจชุมชน หมายความว่า “กิจการของชุมชนเกี่ยวกับการผลิตสินค้าการให้บริการ หรือการอื่น ๆ ที่ดำเนินการโดยคณะบุคคลที่มีความผูกพัน มีวิถีชีวิตร่วมกันและรวมตัวกันประกอบกิจการดังกล่าว ไม่ว่าจะเป็นรูปนิติบุคคลในรูปแบบใดหรือไม่เป็นนิติบุคคล เพื่อสร้างรายได้และเพื่อการพึ่งพาตนเองของครอบครัว ชุมชนและระหว่างชุมชน ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการส่งเสริมวิสาหกิจชุมชนประกาศกำหนด”


ที่มา http://ophbgo.blogspot.com/

อัตลักษณ์ ?

อัตลักษณ์ ?
อัตลักษณ์ เอกลักษณ์ ความเหมือนและความต่างที่ต้องใช้ให้ถูกต้อง
ความหมายของคำว่า อัตลักษณ์
    อัตลักษณ์ ตามความหมายของคณะกรรมการบัญญัติศัพท์ของราชบัณฑิตยสถานได้บัญญัติ
       คำว่า อัตลักษณ์ (อ่านว่า อัด-ตะ-ลัก) ประกอบด้วยคำว่า อัต (อัด-ตะ) ซึ่งหมายถึง ตน หรือ ตัวเอง กับ ลักษณ์ ซึ่งหมายถึง สมบัติเฉพาะตัว. คำว่า อัตลักษณ์ ตรงกับคำภาษาอังกฤษว่า identity (อ่านว่า ไอ-เด็น-ติ-ตี้) หมายถึง ผลรวมขอลักษณะเฉพาะของสิ่งใดสิ่งหนึ่งซึ่งทำให้สิ่งนั้นเป็นที่รู้จักหรือ จำได้ เช่น นักร้องกลุ่มนี้มีอัตลักษณ์ทางด้านเสียงที่เด่นมาก ใครได้ยินก็จำได้ทันที. สังคมแต่ละสังคมมีอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมของตนเอง. โลกาภิวัตน์ทำให้อัตลักษณ์ของสังคมไทยเปลี่ยนไป
     หากดูจากอีกแหล่งทีมา   จะมีความหมายที่คล้ายๆ กันคือ อัตลักษณ์ (อ่านว่า อัด-ตะ-ลัก) ประกอบด้วยคำว่า อัต กับคำว่า ลักษณ์ อัต มาจากคำว่า อตฺต แปลว่า ตน ตัวเอง อัตลักษณ์ จึงแปลว่า ลักษณะของตนเอง ลักษณะของตัวเอง เป็นศัพท์ที่คณะกรรมการบัญญัติศัพท์ของราชบัณฑิตยสถานได้บัญญัติให้ตรงกับคำ ภาษาอังกฤษว่า character เป็นลักษณะเฉพาะของบุคคลซึ่งรวมสติปัญญา คุณธรรม จริยธรรม ความประพฤติที่แสดงออกเป็นลักษณะนิสัยของบุคคลนั้น แต่ปัจจับัน มีการนำคำว่าอัตลักษณ์ไปใช้แทนคำว่า ตน ตัว เช่น หนังสือเรื่องนี้ปรากฏอัตลักษณ์ของนักเขียนแจ่มแจ้งทีเดียว ครูควรช่วยนักเรียนให้พัฒนาอัตลักษณ์ของเขาได้อย่างเหมาะสม นั้นเอง
       ตำราหลายเล่มให้ความหมายคำว่า อัตลักษณ์ ไว้ว่าคุณลักษณะเฉพาะตัว ซึ่งเป็นตัวบ่งชี้ของลักษณะเฉพาะของบุคคล องค์กร สังคม ชุมชน หรือประเทศนั้นๆ เช่น เชื้อชาติ ภาษา วัฒนธรรมท้องถิ่น และศาสนา ฯลฯ ซึ่งมีคุณลักษณะที่ไม่ทั่วไปหรือสากลกับสังคม อื่นๆ พูดง่ายๆ คือลักษณะที่ไม่เหมือนกับของคนอื่นๆ
      “อัตลักษณ์”  หมายถึง สมบัติเฉพาะตัว หากมองเพียงแค่รูปศัพท์ “อัตลักษณ์” จึงเหมาะจะนำมาใช้หมายถึงลักษณะเฉพาะตัวของสิ่งใดสิ่งหนึ่งมากกว่า ส่วนคำว่า “เอกลักษณ์” มีคำว่า “เอก” ซึ่งหมายถึง หนึ่งเดียว จึงน่าจะหมายความว่าลักษณะหนึ่งเดียว (ของหลายๆ สิ่ง) หรือลักษณะที่ของหลายๆ สิ่งมีร่วมกัน ซึ่งเป็นความหมายแรกตามพจนานุกรมนั่นเอง อย่างไรก็ดี คนไทยโดยส่วนใหญ่ยังนิยมใช้คำว่า “เอกลักษณ์” ในความหมายว่าลักษณะเฉพาะตัวที่ไม่เหมือนใครอย่างกว้างขวาง ส่วนคำว่า “อัตลักษณ์” นั้นมักจะใช้ในวงแคบๆ เช่นแวดวงวิชาการเท่านั้น และบางครั้งก็ใช้แบบมีความหมายโดยนัย(แฝง) เช่น “เอกลักษณ์” เป็นสิ่งตายตัวไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ ส่วน “อัตลักษณ์” สามารถเปลี่ยนแปลงได้ มีหลายสิ่งตามความจริงที่ปรากฎ  ดูหลาย ๆ ด้าน หลาย ๆ มิติ ของสิ่ง แต่กระนั้นก็ยังไม่มีข้อบัญญัติการใช้ที่ชัดเจนนัก ได้อ่านความเห็นและคำชี้แจงจาก สมศ. ต้นเรื่องของการใช้ ๒ คำนี้ในการประเมินรอบ ๓ ดังนี้
    สมศ. ได้ประกาศเกณฑ์การประเมินคุณภาพภายนอกรอบสาม(พ.ศ.๒๕๕๔-๒๕๕๘)ซึ่งประกอบด้วย ตัวบ่งชี้พื้นฐาน ตัวบ่งชี้อัตลักษณ์ ตัวบ่งชี้มาตรการส่งเสริม เพื่อให้สถานศึกษามีความเข้าใจความหมายและการเก็บรวบรวมข้อมูลและเตรียมความ พร้อมด้านข้อมูลเพื่อรองรับการประเมินคุณภาพภายนอกรอบสามดังนั้น จึงขอให้ความเข้าใจเพิ่มเติมในเรื่องดังกล่าว ดังนี้
     อัตลักษณ์ (Identity) หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นกับ ผู้เรียนตามปรัชญา ปณิธานวิสัยทัศน์ พันธกิจ และวัตถุประสงค์ของการจัดตั้งสถานศึกษาที่ได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการ สถานศึกษาและหน่วยงานต้นสังกัด อัตลักษณ์ เป็นตัวบ่งชี้ที่เป็นผลสืบเนื่องมาจากการประเมินในสองรอบที่ผ่านมาที่ได้มี การตรวจสอบปรัชญาปณิธาน วิสัยทัศน์ พันธกิจของสถานศึกษา ว่ามีการกำหนดไว้หรือไม่เท่านั้น ซึ่งในทางปฏิบัติทุกสถานศึกษาจะต้องกำหนดไว้ตั้งแต่เมื่อก่อตั้งสถานศึกษา ส่วนการประเมินภายนอกรอบสามจะประเมินผลว่าตัวผู้เรียนว่ามีคุณลักษณะเป็นไป ตามสาระที่กำหนดไว้ในปรัชญา ปณิธาน วิสัยทัศน์ พันธกิจหรือไม่ยกตัวอย่างง่ายๆ ถ้าสถานศึกษากำหนดปรัชญาไว้ว่า "ความรู้คู่คุณธรรม" นักเรียนหรือบัณฑิตที่จบมาต้องมีความรู้ เป็นคนดีมีจิตสาธารณะ หรือสถานศึกษาด้านการอาชีวศึกษากำหนดปรัชญาไว้ว่า "อดทน มุ่งมั่น สู้งาน" แล้วผู้เรียนที่สำเร็จการศึกษาแล้วมีลักษณะอดทนตั้งใจ มุ่งมั่น และสู้งาน ก็ถือว่าบรรลุอัตลักษณ์โดยจะนำผลมาพิจารณาตามหลักเกณฑ์การให้คะแนนของแต่ละ ระดับการศึกษาต่อไป ในการเก็บข้อมูลเรื่องอัตลักษณ์นั้น สถานศึกษาจะต้องกำหนดเกณฑ์ขึ้นมา เพื่อใช้ประเมินผลความเป็นอัตลักษณ์ของสถานศึกษา โดยอาจจัดประชุมรับฟังความคิดเห็นจากประชาคมภายในสถานศึกษา หรือทำแบบสำรวจความคิดเห็นจากบุคลากรภายใน ต่อคุณลักษณะของผู้เรียนที่สะท้อนปรัชญา ปณิธานวิสัยทัศน์ พันธกิจที่กำหนดหรือไม่ และให้ระดับคะแนนตามระดับผลกระทบที่ดีต่อชุมชนท้องถิ่น และระดับการยอมรับจากชุมชนหรือหน่วยงานภายนอก ผลที่ได้จากการดำเนินการจะส่งผลดีให้สถานศึกษาได้ทบทวน พิจารณาและดำเนินการต่อไปอย่างมีเป้าหมายชัดเจน สำหรับระดับอุดมศึกษาสถาบันและคณะจะต้องกำหนดอัตลักษณ์เป็นเรื่องเดียวกัน ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่า "หนึ่งสถานศึกษา หนึ่งอัตลักษณ์"
     เอกลักษณ์ (Uniqueness) หมายถึง ความสำเร็จตามจุดเน้นและจุดเด่นที่สะท้อนให้เห็นเป็นลักษณะโดดเด่นเป็นหนึ่ง ของสถานศึกษาหรือความสำเร็จของสถาบัน ดังนั้น อัตลักษณ์และเอกลักษณ์ จึงไม่เหมือนกัน แต่สำหรับระดับอุดมศึกษาเอกลักษณ์ กับอัตลักษณ์ของสถาบันกับคณะ จะเหมือนกันหรือต่างกัน หรือส่งผลถึงกันก็ได้ ยกตัวอย่าง เอกลักษณ์ของคณะต่างๆในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เช่น วิศวกรรมศาสตร์ ครุศาสตร์สถาปัตยกรรมศาสตร์ อักษรศาสตร์จะมีเอกลักษณ์ที่แตกต่างกันแต่เอกลักษณ์ในภาพรวมของจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัยจะต้องเหมือนกัน


วันเสาร์ที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2558

สรุปการเรียนครั้งที่ 1

การบ้าน
- เข้าไปดูการบ้านใน http://corporateidentitydesign.blogspot.com/ และทำการบ้านจากหน้าเว็บ ข้อ 1-3

- ไปดูงานสินค้าโอทอปที่เมืองทองจำพวก สมุนไพร และเครื่องดื่ม และจับกลุ่มกัน 6 คน โดยที่แต่ละคน    ต้องหาผู้ประกอบการที่ต่างกัน และต้องหาสินค้าที่มาจากลพบุรี หน้าที่แต่ละคนคือ ประธาน รองประธาน  เหรัญญิก ประชาสัมพันธ์ และยกของ

ข้อคิดที่ได้จากสัปดาห์นี้
- นักออกแบบ ต้องทำงานอย่างมีข้อมูล
- นักออกแบบต้องพูดเอง อย่าให้พวก AE เป็นคนพูด
- AE (Account Executive) = ผู้บริหารงานลูกค้า

งานแสดงสินค้าที่เมืองทองธานี


    ในวันที่ 15 สิงหาคม 2558 ผมได้ไปดูงานแสดงสินค้าที่เมืองทองธานี โดยใช้ชื่องานว่า OTOP ศิลปาชีพ ประทีปไทย "สมเด็จแม่ทรงให้ ภูมิปัญญาไทยสู่สากล" ภายในงานมีสินค้ามากมายมาจากทุกทั่วสารทิศทั่วประเทศไทยทุกจังหวัด แต่โจทย์ของผมคือ ให้หาสินค้าที่มาจากลพบุรี ซึ่งในงานนั้นใหญ่ และหายากมาก แต่ก็ได้เจอร้านที่มาจากลพบุรี ได้แก่ น้ำผึ้งเทพภักดี บ้านดินสอพอง ยาฟอกโลหิต และโรลออนสารส้ม ผมได้สอบถามและคุณกับผู้ประกอบการทุกคน เดินวนไปวนมาเพื่อที่จะได้ตัดสินใจถูก โดยผมได้เลือก กลุ่มโรลออนสารส้ม จากอำเภอบ้านหมี่ จังหวัดลพบุรี เพราะทองผู้ประกอบการ กำลังต้องการออกแบบโลโก้ และแพ็คเกจสินค้าใหม่ เลยตกลงกับสินค้านี้


รายละเอียดสินค้า

ชื่อผลิตภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์สารส้มระงับกลิ่นกายแบบก้อนและแบบสเปรย์
ประวัติความเป็นมา ผลิตภัณฑ์ระงับกลิ่นกายแบบเดิมที่ทำคือแบบก้อนจึงทำแบบใหม่ ในรูปแบบแท่งกลมมีหัวกลมสวยงานน่าใช้ สะดวกในการพกพา ซึ่งมียอดจำหน่ายที่ดี เป็นที่นิยมแพร่หลายในตลาดต่างประเทศ และตลาดภายในประเทศ และปัจจุบันเรานำเศษสารส้มที่เหลือจากการผลิต หรือผลิตภัณฑ์ที่ไม่ได้ขนาดตามความต้องการมาพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์สารส้มน้ำระงับกลิ่นกายแบบสเปรย์ เพื่อสะดวกในการใช้ซึ่งมีคุณสัมบัติที่สามารถระงับกลิ่นกาย และความอับชื้นของเท้าได้ดีเยี่ยมเช่นเดี่ยวกับรูปแบบแท่ง

จุดเด่นของผลิตภัณฑ์
- สามารถระงับกลิ่นกายที่ไม่พึงประสงค์ได้ตลอด 24 ชั่วโมง
- ไม่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ ไม่มีวัตถุกันเสีย
- ไม่เป็นอันตรายจากผิวหนังที่สัมผัส
- สามารถระงับความอับชื้นของใต้วงแขน เท้า และบริเวณที่ต้องการ
- ทำให้วงแขนขาวขึ้น ไม่เหนี่ยวเหนอะหนะ
- ไม่ทำให้ขอบเสื้อเหลือง

**ผ่านการรับรองตรวจสอบจากแพทย์ผิวหนังจากออสเตรีย และเยอรมันนี**

วิธีการใช้ 
หลังอาบน้ำขณะตัวเปียก หรือใช้สารส้มจุ่มในน้ำแล้วทาที่ใต้วงแขน

สถานที่จำหน่าย
ผลิต และจำหน่ายภายในประเทศ ผลิตภัณฑ์ที่มีจำหน่วยในต่างประเทศ ได้แก่ ออสเตรีย และเยอรมันนี

สนใจสั่งซื้อ หรือข้อมูลเพิ่มเติม
กลุ่มโรออนสารส้ม 72 ม.6 ต.บางพึ่ง อ.บ้านหมี่ จ.ลพบุรี 15180
โทร. 089-9003198 ,084-9027418
E-mail : Deomee@hotmail.com.co.th
ชำระเงิรด้วยการโอน บัญชี ชาติชาย รงค์ทอง ธ.กรุงเทพ สาขาหัวลำโพง 1390548939 ออมทรัพย์ 




หน้าร้านโรออนสารส้มของจังหวัดลพบุรี



โรออนสารส้มขนาดเล็ก


โรออนสารส้มขนาดกลาง


โรออนสารส้มขนาดใหญ่ 




โรออนสารส้มขนาด



ราคาสินค้า



สบู่สารส้มผสมน้ำ



สบู่สารส้มผสมน้ำ



ใบประกาศนียบัตรโอทอป




ผมและผู้ประกอบการ