วันพุธที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2558

10 โลโก้ที่มีชื่อเสียงที่มีความหมายที่ซ่อนอยู่

ปัจจุบันมีบริษัทจำนวนมากที่มีโลโก้จำได้ทันที แต่ไม่กี่คนที่รู้จริงที่อยู่เบื้องหลังความหมายสัญลักษณ์ขององค์กรเหล่านี้



นี่คือตัวอย่างที่ 10 วันที่ทันสมัยของโลโก้ บริษัท และความหมายที่อยู่เบื้องหลังพวกเขา

1. Amazon

ลูกศรซึ่งมีลักษณะเหมือนรอยยิ้มบนใบหน้าในโลโก้ของ Amazon มีความหมายที่อยู่เบื้องหลังมันอีก มันเป็นตัวแทนของความหลากหลายของรายการที่มีอยู่สำหรับการค้าปลีกโดย Amazon จาก A ถึง Z

2. Apple

โลโก้แอปเปิ้ลได้มาจากเรื่องราวของอดัมและอีฟในพระคัมภีร์ไบเบิล แอปเปิ้ลผลไม้ที่กัดเป็นตัวแทนจาก "ต้นไม้แห่งความรู้"

3. IBM

โลโก้ของไอบีเอ็มมีข้อความที่ซ่อนไว้สำหรับโลกทั้งโลกที่ซ่อนอยู่ในโลโก้สีฟ้าขนาดใหญ่ที่แสดงถึงมันเป็น บริษัท เส้นสีขาวผ่านให้ลักษณะของเครื่องหมายเท่ากับในมุมขวาล่างที่เป็นตัวแทนของความเท่าเทียมกัน

4. Mobil

โลโก้มือถือของตัวเองไม่ได้เป็นตัวแทนของอะไร แต่ทำสี สีแดงแสดงให้เห็นถึงความแข็งแกร่งในขณะที่สีฟ้าในโลโก้หมายถึงความสัตย์ซื่อและความปลอดภัย

5. FedEx


โลโก้เฟดเอ็กซ์ดูเรียบง่ายและมันเป็นเรื่องยากที่จะเห็นสิ่งที่อาจจะซ่อนอยู่ภายใน แต่มองอย่างใกล้ชิดที่ช่องว่างระหว่าง 'E' และ 'X' ในอดีตที่แสดงให้เห็นสีส้มลูกศรชี้ไปข้างหน้า ลูกศรนี้หมายถึงก้าวไปข้างหน้าต่อไปในอนาคต

6. Audi

หลายคนได้สงสัยในสิ่งที่สี่ในวงการโลโก้ automaker นี้หมายถึง ดีสี่วงการเป็นตัวแทนของ 4 บริษัท ที่เป็นส่วนหนึ่งของสมาคมอัตโนมัติยูเนี่ยนในปี 1932 คือ DKW, Horch, Wanderer และออดี้

7. BMW

โลโก้ของ BMW เป็นบรรณาการให้กับประวัติศาสตร์ของ บริษัท ในการบิน แสดงให้เห็นโลโก้ใบพัดในการเคลื่อนไหวกับส่วนสีฟ้าเป็นตัวแทนของท้องฟ้า เพราะนี่คือบทบาทของ บริษัท ในการสร้างเครื่องยนต์อากาศยานสำหรับทหารเยอรมันในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง

8. Mercedes-Benz

Mercedes'ดาวสามแชกแสดงให้เห็นถึงการครอบงำของ บริษัท มากกว่าแผ่นดินทะเลและทางอากาศ

9. Toyota


มีสามจุดที่มองเห็นได้ในโลโก้ของ บริษัท ที่มี วงรีแต่ละคนถือเป็นหัวใจของลูกค้าเป็นหัวใจของผลิตภัณฑ์และการเต้นของหัวใจของความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีที่

10. Volkswagen

โลโก้โฟล์คสวาเกนก็แสดงให้เห็นว่าตัวอักษรของชื่อย่อของ บริษัท ฯ คำว่า "Volks" เป็นภาษาเยอรมันสำหรับคนขณะที่ "Wagen" เป็นภาษาเยอรมันสำหรับรถ

ขอขอบคุณที่มา : http://goo.gl/EfnE4J

วันจันทร์ที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2558

มหกรรม OTOP และท่องเที่ยว กลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนบน 2

ภาพจาก : www.futurepark.co.th

สินค้าต่างๆภายในงาน
ภาพจาก : www.futurepark.co.th

ตัวผมหน้าร้านโรลออนสารส้มจากจังหวัดลพบุรี

วันที่ 26 ตุลาคม ผมได้เข้าไปชมงาน "มหกรรม OTOP และท่องเที่ยว กลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนบน 2" ที่Alive Park Hall หน้าศูนย์การค้าฟิวเจอร์พาร์ครังสิต ภายในงานสามารถชม ช้อป ชิม สินค้าโอทอป นิทรรศการท่องเที่ยว ของกลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนบน ได้แก่จังหวัดลพบุรี ชัยนาท อ่างทอง และสิงห์บุรี


บรรกาศหน้างาน
ภาพโดย : สุริยนต์   อรรถาเวช:2558

บรรกาศหน้างาน
ภาพโดย : สุริยนต์   อรรถาเวช:2558

ทางเข้างาน
ภาพโดย : สุริยนต์   อรรถาเวช:2558

บรรกาศภายในงาน
ภาพโดย : สุริยนต์   อรรถาเวช:2558

สินค้าโรลออนสารส้ม จาก จังหวัดลพบุรี
ภาพโดย : สุริยนต์   อรรถาเวช:2558

สินค้าโรลออนสารส้ม จาก จังหวัดลพบุรี
ภาพโดย : สุริยนต์   อรรถาเวช:2558

วันอาทิตย์ที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2558

ความหมายของภาพประกอบเรื่อง

     ในอดีตที่ผ่านมาภาพประะกอบถูกนำมาใช้เพื่อวัตถุประสงค์ในการตกแต่ง อธิบาย และเป็นเอกสารอ้างอิง    ความสำคัญของภาพประกอบคือสามารถแสดงสิ่งที่ผู้เขียนไม่สามารถ อธิบายออกมาเป็นภาษาเขียนได้   นอกจากนี้ภาพประกอบงานพิมพ์ยังกลาย มาเป็นส่วน หนึ่งในชีวิตประจำวันของผู้คนในปัจจุบัน    เพราะทุกสิ่งทุกอย่างไม่ว่าจะเป็นหนังสือพิมพ์ นิตยสาร หนังสือทั่วไป บรรจุภัณฑ์   ปกเทป แผ่นพับ แผ่นปลิว ฯลฯ   ส่วนใหญ่ ล้วนต้องใช้ภาพประกอบทั้งสิ้น   สิ่งที่จะกล่าวต่อไปในบทนี้คือการสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับ ความหมายของภาพประกอบงานพิมพ์   ความสำคัญของภาพประกอบ   ประเภทของ ภาพประกอบ ตลอดจนการสร้างสรรค์ภาพประกอบงานพิมพ์การนำไปใช้
     เราเกิดมาพร้อมพัฒนาการของภาพประกอบ   ภาพประกอบเป็นกุญแจสำคัญ ที่จะไขสู่การอธิบายสิ่งที่อยู่ในจินตนาการ เริ่มตั้งแต่ภาพประกอบที่ใช้ในหนังสือสำหรับเด็ก จนถึงภาพประกอบที่แปลกออกไปด้วยเทคนิคอันก้าวหน้ามากมาย เช่น การสร้างจุดเด่นให้ภาพประกอบ   การตกแต่งภาพประกอบเพื่อใช้กับงานพิมพ์ และการ จัดกลุ่มเชื่อมโยงภาพประกอบ

ความหมายของภาพประกอบงานพิมพ์
     ภาพประกอบงานพิมพ์ หมายถึงเนื้อหาส่วนที่เป็นภาพซึ่งปรากฏในเอกสาร สิ่งพิมพ์ต่างๆ นอกเหนือจากเนื้อหาข้อความที่เป็นตัวอักษร ภาพเหล่านี้อาจเป็นภาพวาด หรือภาพถ่ายก็ได้ และยังนับรวมถึงภาพกราฟิกต่างๆ เช่น จุด เส้น สี แถบกราฟิกหรือ ภาพลายเส้นเรขาคณิตอื่นๆ ที่ใช้ในการตกแต่งงานพิมพ์อีกด้วย


ความสำคัญของภาพประกอบงานพิมพ์
     ภาพประกอบมีความสำคัญต่องานพิมพ์มาก   เพราะสามารถให้รายละเอียด และความเหมือนจริงเกินคำบรรยาย ให้ความสวยงามและความประทับใจ พอสรุปความ สำคัญของภาพประกอบงานพิมพ์ได้ดังนี้
1.ใช้สร้างความเข้าใจ
     บางครั้งการอธิบายถึงสิ่งหนึ่งสิ่งใด ตัวอักษรมีข้อจำกัดที่จะบ่งบอกถึงสิ่งที่อธิบาย นั้นว่าเป็นอย่างไร   ในบางกรณีแม้ว่าผู้บรรยายจะมีความสามารถในการใช้ถ้อยคำมากสักเพียงใด ก็ไม่อาจทำให้เกิดความเข้าใจได้โดยง่าย เช่น การจะอธิบายความแตกต่างระหว่างม้ากับลา ให้กับคนที่ไม่เคยเห็นสัตว์ทั้งสองชนิดนี้คงเป็นเรื่องที่ลำบากมาก
2 .ใช้เสริมความเข้าใจ
     ในกรณีที่ข้อความสามารถสร้างความเข้าใจได้ระดับหนึ่งแล้วแต่ยังไม่ชัดเจน   จึงจำเป็นต้องใช้ภาพประกอบเพื่อเสริมความเข้าใจให้ชัดเจนยิ่งขึ้น เช่น การอธิบายพุทธลักษณะ ของพระพุทธรูปสมัยต่างๆ   ถ้ามีภาพประกอบเพื่อเสริมความเข้าใจในรายละเอียดเพิ่มเติม ก็จะทำให้เข้าใจมากยิ่งขึ้น
3 .ใช้เป็นหลักฐานเพื่อบ่งบอกบุคคล
     การนำเสนอภาพเพื่อบ่งบอกถึงตัวบุคคล   ไม่อาจใช้ข้อความอธิบายให้เห็นได้ว่า บุคคลผู้นี้มีหน้าตาเป็นอย่างไร แต่ถ้าพิมพ์ภาพลงแล้วบอกชื่อ    ผู้ที่เห็นก็จะรู้จักและจดจำได้ทันที
4 .ใช้ตกแต่งหน้าสิ่งพิมพ์
     ภาพประกอบช่วยให้งานพิมพ์สวยงามน่าอ่านมากยิ่งขึ้น     เทคโนโลยีการถ่าย ภาพ ตกแต่งภาพและการพิมพ์ในปัจจุบัน เอื้ออำนวยให้การทำงานกับภาพประกอบสะดวก ยิ่งขึ้น การถ่ายภาพทำได้ง่ายขึ้น ลดขั้นตอนการตกแต่งภาพลง ใช้เวลาน้อยลง การจำลอง ภาพอย่างการถ่ายเอกสารหรือการกราดภาพ(scan) ก็ทำได้คุณภาพดีและสะดวกรวดเร็ว อีกทั้งเทคโนโลยีด้านคอมพิวเตอร์ ยังช่วยให้ตกแต่งดัดแปลงภาพทำได้หลายรูปแบบ

ประเภทของภาพประกอบงานพิมพ์
     การใช้ภาพประกอบงานพิมพ์นั้นอาจกล่าวได้ว่าใช้ภาพได้ทุกประเภท เพราะ เทคโนโลยีทางการพิมพ์สามารถถ่ายทอดภาพประเภทใดๆ ก็ได้ลงบนงานพิมพ์    ซึ่งอาจจำแนก ประเภทภาพประกอบทางการพิมพ์เป็นประเภทต่างๆ ได้ดังนี้
1. ภาพถ่าย
    ภาพถ่ายเป็นภาพที่เกิดจากกรรมวิธีทางการถ่ายภาพ ใช้ประโยชน์ได้ดีในงานพิมพ์ เพราะภาพถ่ายมีคุณลักษณะเฉพาะตัวหลายอย่าง ทั้งในแง่ความเหมือนจริงและความละเอียดละออสามารถสร้างสรรค์ได้ตามความรู้สึก การถ่ายภาพเพื่อนำมาใช้ภาพประกอบในงานพิมพ์ ปัจจุบันนิยมใช้กล้องดิจิตอล ผลที่ได้ส่วนใหญ่จึงออกมาเป็นภาพสี(colour print)แต่ถ้าต้องการภาพขาว-ดำ มักใช้คอมพิวเตอร์ช่วยแปลงภาพจากภาพสีให้เป็นภาพขาว-ดำ
2. ภาพวาดลายเส้น
    ภาพวาดลายเส้นเป็นภาพที่ใช้ประกอบงานพิมพ์มาตั้งแต่ยุคแรกๆ และยังคง ได้รับความนิยมอยู่จนถึงปัจจุบัน มีการใช้เทคนิคการวาดภาพผสมผสานกันหลายอย่าง เช่น การวาดลายเส้นแบบภาพการ์ตูนโดยการใช้ดินสอ พู่กัน ปากกาหมึกดำ รวมทั้งการผสมสกรีน หรือการสร้างพื้นผิวลวดลายต่างๆ ร่วมกับภาพลายเส้นด้วย
3 . ภาพวาดน้ำหนักสีต่อเนื่องและภาพระบายสี
    ภาพวาดน้ำหนักสีต่อเนื่องกับภาพระบายสี ภาพทั้งสองชนิดมีลักษณะภาพ คล้ายคลึงกัน คำว่า “ภาพวาดน้ำหนักสีต่อเนื่อง” ใช้เรียกภาพวาดสีเดียวที่มีน้ำหนักอ่อนแก่ลดหลั่นกันสำหรับ "ภาพระบายสี" จะประกอบด้วยสีต่างๆมากมายหลายสีโดยการเขียนหรือระบายสีด้วยกรรมวิธีหรือเทคนิคต่างๆกันไปภาพวาดอาจเป็นภาพที่วาดในมุมมองและรายละเอียดเหมือนกับภาพถ่ายได้และยังสามารถวาดในมุมที่ภาพถ่ายอาจทำไม่ได้อีกด้วยภาพวาดจึงเป็นภาพอีกชนิดหนึ่งที่ใช้เป็น ภาพประกอบได้อย่างดี
4.ภาพพิมพ์
     ภาพพิมพ์ในที่นี้หมายถึงภาพที่ผ่านการพิมพ์มาแล้ว มีทั้งชนิดที่พิมพ์เป็น ภาพลายเส้นและพิมพ์เป็นภาพเม็ดสกรีน    ภาพทั้งสองประเภทนี้สามารถนำมาพิมพ์ซ้ำได้ ถ้าเป็นภาพลายเส้นจะได้คุณภาพใกล้เคียงของเดิม   แต่ภาพที่เป็นเม็ดสกรีนรายละเอียดอาจหาย ไปบ้าง
5.ภาพดิจิตอล
     ภาพดิจิตอล หมายถึงภาพที่ผ่านกระบวนการสร้างสรรค์โดยคอมพิวเตอร์มาแล้ว ด้วยพัฒนาการของเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ในปัจจุบันทำให้ภาพทุกชนิดที่จะเข้าสู่ระบบการพิมพ์ต้องผ่านกระบวนการแปลงรูปภาพนั้นให้เป็นภาพดิจิตอล เช่น การกราดภาพ(scan)การถ่ายภาพด้วยกล้องดิจิตอลและการสร้างภาพขึ้นใหม่ด้วยคอมพิวเตอร์ เป็นต้น

การสร้างจุดเด่นให้ภาพประกอบ
     การสร้างสรรค์ภาพประกอบให้มีสีสันฉูดฉาดเตะตา เป็นวิธีการที่ดีสำหรับการ สร้างความน่าสนใจให้กับงานพิมพ์ แต่มีสิ่งที่สำคัญยิ่งไปกว่านั้นคือการสื่อความหมาย เรื่องราวไปยังผู้อ่านภาพประกอบที่ดูน่าสนใจเหล่านั้นจะหมดความหมายไปในเวลาอัน รวดเร็วถ้ามันไม่ได้ช่วยอธิบายอะไรเพิ่มเติม ผู้อ่านก็จะละความสนใจจากงานพิมพ์ชิ้นนั้น ไปยังจุดอื่นที่น่าสนใจมากกว่าการออกแบบภาพประกอบให้ผสมผสานเข้าไปในงานพิมพ์ แล้วทำให้งาน พิมพ์มีจุดเด่นที่น่าสนใจแบบคงทนถาวรได้นั้น   มีวิธีการพอสรุปได้ดังนี้
1.ใช้ภาพบุคคลที่มีชื่อเสียง 
     ใช้ภาพบุคคลที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักน่าเคารพนับถือ มาสร้างจุดดึงดูดให้กับ งานพิมพ์
2.ลดรายละเอียดของภาพ 
     ตัดรายละเอียดส่วนเกินอื่นๆออก เหลือไว้เท่าที่จำเป็นเพื่อเน้นให้ผู้อ่านทุ่มเท ความสนใจไปยังจุดมุ่งหมายที่ต้องการ


ขอขอบคุณข้อมูลจาก http://www.thaiblogonline.com/pavana.blog?PostID=2854

วันเสาร์ที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2558

นิทรรศการ "สีไทยโทน"

บู๊ดแสดงงานต่างๆโดยใช้สี คราม
ภาพโดยสุริยนต์   อรรถาเวช

     ในวันที่ 16 ตุลาคม 2558 ผมได้ไปชมนิทรรศการ "สีไทยโทน"ณ HOF ART Space ในโครงการ W Districtโดยศูนย์บันดาลไทย ในงานได้นำเสนอผ่านกรณีศึกษาต่างๆ ทั้งด้านผลิตภัณฑ์ การบริการ และงานโฆษณา สู่การต่อยอดและขยายผลไปสู่ธุรกิจอื่นๆ อาทิ การออกแบบแฟชั่น งานออกแบบตกแต่งภายใน และงานบริการเพื่อการท่องเที่ยว และผมยังได้เข้าฟังเสาวนา“เสน่ห์สีไทยโทน : จากอัตลักษณ์ไทยสู่ Tropical Color” ทำให้ผมได้ความรู้มากมายงานงานนี้ ได้ที่มาของสี ชื่อสี นำนำสีไปใช้ในงานต่างๆ และยังได้รับหนังสือ “สีไทยโทน”เสน่ห์ไทยเพิ่มมูลค่าธุรกิจ ซึ่งรวบรวมเนื้อหาความรู้เกี่ยวกับเสน่ห์สีไทย เฉดสีไทยโทนกว่า 200 สี พร้อมชื่อและรหัสสี C Y M K เพื่อการใช้งานได้จริง กรณีศึกษาการใช้สีไทยโทนในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ บริการและงานโฆษณา โดยงานยังมีจัดถึงวันที่ 3 พศจิกายน 2558
     สีที่ผมชอบมากที่สุดในงานนี้คือ สีคราม เป็นโทนสีที่ดูแล้วสบายตา และผมก็ยังชอบใส่เสื้อผ้าสีครามด้วย จึงเลือกที่จะถ่ายรูปคู่กับบู๊ดของสีคราม นี้

มาสคอตส์ Mr. kharm
ภาพโดย FB:Thaitone

บู๊ดสีคราม
ภาพโดย FB:Thaitone



บรรยากาศภายในงานเข้าฟังเสาวนา“เสน่ห์สีไทยโทน"
ภาพโดย FB:Thaitone

หนังสือ “สีไทยโทน”เสน่ห์ไทยเพิ่มมูลค่าธุรกิจ
ภาพโดย FB:Thaitone